

Dow Theory

ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)
Dow Theory หรือที่เรียกว่าทฤษฎีดาว กำเนิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว ผู้ที่คิดค้นคือ
Mr. Charles Henry Dow เขาเป็นผู้พัฒนาการวิเคราะห์ทางเทคนิค การเก็งกำไร รวมทั้งกฎ Industrial average ในตลาดหุ้น จนทำให้ในช่วงนั้น (ปลายศตวรรตที่ 19) เกิดทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมา
Dow ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ The wall street journal โดยมีเพื่อนของเขาเป็นหุ้นส่วน ชื่อ Edward Jones รูปแบบฉบับของหนังสือพิมพ์จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งหุ้นต่างๆ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไร จึงเป็นการยากที่จะเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ เขาเลยคิดดัชนีขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อตัวเขากับเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วน ชื่อว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยเอาหุ้นชั้นนำ (bluechip)
จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนี ใช้เป็นตัวอ้างอิง เพื่อจะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้
ปี 1902 Dow ได้เสียชีวิต แต่ก็ยังคงมีหนังสือออกมาใหม่มากมายที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer จากกฏหรือหลักการรวมทั้งแนวคิดต่างๆของเขาทั้งหมด ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝั่งตะวันตก ปัจจุบัน (กันยายน 2016) ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่ทฤษฎีของ Dow ยังคงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้งในตลาดหุ้นและตลาดฟอร์เร็กซ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การต่อยอดพัฒนามาเป็นการนับคลื่นใน Elliott wave เป็นต้น ในบทความนี้เราจะมาสรุปว่า กฎ-หลักการ หรือทฤษฎีที่ Dow ได้กล่าวไว้ ว่ามีอะไรบ้าง

ทฤษฎี Dow แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ
1. ตลาดมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ
-
แนวโนมโหญ่ (The main movement or Primary trend)
-
แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend)
-
แนวโน่้มระยะสั้นๆ (The short swing or Minor trend)

2. ตลาดมี Trend แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ (Market trends have three phases) คือ
-
ช่วงสะสม (The accumulation phase)
-
ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase)
-
ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)

3. ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already)
ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารต่างๆ พฤติกรรมความต้องการของคนในตลาด ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ Dow เชื่อว่าได้ถูกสะท้อนออกมาเป็นราคา ณ ขณะนั้นเรียบร้อยแล้ว
4. ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)
หากเกิดสัญญาณการขึ้น หรือลง ราคาที่เกี่ยวข้องกันควรจะต้องยืนยันทิศทางซึ่งกันและกัน ถึงจะเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางนั้นอย่างแท้จริง โดยในทฤษฎีของ Dow แรกเริ่มนั้นได้คิดค้นว่าถ้าดัชนีของ Utilities (หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค)ขึ้นทำ New high นั้น ดัชนีของ Railroads (หุ้นกลุ่มขนส่ง) ต้องทำ New High ด้วยเช่นกัน ถึงจะยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ เนื่องจาก Dow มองว่าถ้าภาพรวมของเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นจริง ภาพใหญ่ต้องขึ้น ไม่ใช่ขึ้นเฉพาะบางอุตสาหกรรม
5. ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)
เมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงการขึ้นนั้นปริมาณวอลุ่มควรเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงพักตัววอลุ่มควรหดตัว และในทางตรงกันข้ามเมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง เมื่อราคาปรับตัวลง วอลุ่มควรเพิ่มขึ้น และหดตัวในช่วงรีบาวด์ … และข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ปริมาณวอลุ่มจะสูงสุดในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Bull market หรือไม่ก็เป็นช่วงที่ตลาด panic ใน Bear market
6. ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะไม่ลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)
นี่เป็นพื้นฐานของการเทรดสไตล์ Trend-following เลย คือเชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม โดย Dow จะไม่คาดการณ์ว่าแนวโน้มนั้นจะเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ หรือระยะทางไกลแค่ไหน แต่แค่รอว่าถ้าเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม นั้นแหละใกล้ถึงใกล้จบแนวโน้มนั้น
ปกติการแบ่งแนวโน้มของทฤษฎี Dow นั้นจะดูจากการทำ High และ Low ของราคา
โดยถ้าราคาขึ้นทำ Higher high (ทำ High ใหม่) และทำ Lower High (ทำ Low สูงขึ้น) แสดงถึงทิศทางของขาขึ้น (Bull market)
แต่ถ้าราคาทำ Higher Low (ทำ High ต่ำลง) และทำ Lower Low (ทำ Low ต่ำลง) แสดงถึงทิศทางของแนวโน้มขาลง (Bear market)

อย่างไรก็ตาม การเทรดในตลาด forex นิยมเล่นในช่วงสั้น หากอาศัยกฏและหลักการตาม
Dow Theory ไทม์เฟรมที่เหมาะสมก็คือ แนวโน้มใหญ่=MN- W1 แนวโน้มกลาง= D1-H4 และแนวโน้มย่อยระยะสั้น = H1-M1