top of page

Ichimoku

Ichimoku001.jpg

           Ichimoku Kinko Hyo

I         Ichimoku Kinko Hyo เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่จะใช้ระบุแนวรับแนวต้าน ในการวิเคราะห์ทิศทาง และการหาน้ำหนักของทิศทางพร้อมกับการให้สัญญาณเทรด Ichimoku Kinko Hyo สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า  “one look equilibrium chart” หรือ กราฟดุลยภาพของราคา ซึ่งนักวิเคราะห์จะสามารถวิเคราะห์เทรนด์และมองหาสัญญาณเทรดในเทรนด์นั้นได้

          Indicator ได้ถูกพัฒนาโดย Goichi Hosoda, นักเขียน ตีพิมพ์ในปี 1969 แต่อย่างนั้นก็ตาม Ichimoku Kinko Hyo อาจจะดูแล้วซับซ้อนเมื่อมองมันบนกราฟราคา มันค่อนข้างตรงไปตรงมา

จริง ๆ แล้ว มันถูกสร้างโดยนักเขียน ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นแนวคิดการสร้างค่อนข้างง่าย

          Ichimoku แบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน ที่ประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 5 เส้นดังนี้

  • เส้นถอย (Chikou ชิโคว) คือเส้นราคาปิดปัจจุบันที่ขยับตัวกลับ 26 ครั้ง

  • เส้นกลาง จะประกอบด้วย 2 เส้นคือ เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 9 ครั้ง, และเส้น Kijun (คิจุน) = คือค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 26 ครั้ง

  • เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Kumo คุโมะ) ประกอบด้วย 2 เส้น ที่ Shif ไปข้างหน้า 26 ครั้ง คือเส้น Senkou span A (เซนโคว สแปนเอ) = ค่าเฉลี่ยจาก Tenkun+Kijun ÷ 2, และเส้น Senkou Span B (เซนโคว สแปนบี) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 คำนวณย้อนหลัง 52 ครั้ง

ichimoku003.jpg

          ประโยชน์ของการนำ Ichimoku มาใช้

  • บอกจุดชื้อ – ขาย โดยดูจากเส้นคู่กลาง (Tenkan,Tenkan) ถ้าแดงตัดน้ำเงินขึ้น=ซื้อ ถ้าแดงตัดน้ำเงินลง=ขาย

  • ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ โดยดูจากเส้นถอยตัดกับเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Chikou/Kumo) ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาลง

  • บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน มีเทรนด์หรือไซต์เวย์ โดยดูจากตำแหน่งของแท่งเทียนกับกลุ่มก่อนเมฆ

  • เป็นแนว-รับแนวต้าน โดยดูจากเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆกับแท่งเทียน

  • บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวแรงๆ ตามทฤษฎี break out

   1.บอกจุดซื้อ-ขาย จากเส้นคู่กลาง  Tenkan vs Kijun

          เส้นคู่กลางมี 2 เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) กับเส้น  Kijun (คิจุน) โดยปกติถ้าเรา insert เข้ามาตามต้นแบบเดิมๆ เส้น Tenkan จะเป็นสีแดง เส้น Kijun จะเป็นสีน้ำเงิน ทั้งสองเส้นนี้จะทำหน้าที่บอกจุดหรือสัญญาณซื้อ-ขาย หรือแนวโน้มในระยะสั้นๆ มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือ

          เส้นสีแดง (Tenkan) เป็นหลัก  ถ้าตัดเส้นน้ำเงินขึ้นให้ซื้อ ถ้าตัดน้ำเงินลงให้ขาย นั่นเอง

    2.ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ Chikou vs Kumo 

          การยืนยืนว่าจะมีเทรนด์ใหญ่ๆเกิดขึ้น ก็อาศัยการตัดกันของเส้นถอยกับเส้นขยับ ปกติเส้นถอย (Chikou) ตามต้นแบบหลังจาก insert เข้ามาจะเป็นสีเขียว (นิยมใช้สีเดิมตามต้นฉบับ) ส่วนเส้นขยับ (Kumo) หรือที่เรียกว่ากลุ่มก้อนเ มฆนั้นที่ เกิดจากเส้นสองเส้น รวมเข้าด้วยกัน คือเส้น Senkou span A กับเส้น Senkou span B ทำให้เกิดก้อนเมฆขึ้น ถ้าสองเส้นนี้อยู่ห่างกันก็จะเป็นก้อนเมฆใหญ่ ถ้าอยู่อยู่ใกล้กันก็เป็นก้อนเมฆเล็ก ถ้าใกล้กันมากๆ ก็จะเป็นแค่รูปเป็นเส้น

    ในการยืนยันการเกิดเทรนด์ มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือ

          ถ้าเส้นถอยตัดก้อนเมฆขยับขึ้น = อาจเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น 

          ถ้าเส้นถอยตัดก้อนเมฆขยับลง = อาจเกินเทรนด์ใหญ่ขาลง

    3.บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน Candlesticks vs Kumo

          pattern  ของราคากำลังอยู่ในช่วงไหน ดูได้จากตำแหน่งของแท่งเทียนที่อยู่กับกลุ่มก่อนเมฆ  ทำความเข้าใจง่ายๆก็คือ

  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่เหนือก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นแนวโน้มขาขึ้น

  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่ใต้ก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นนวโน้มขาลงอยู่

  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) อยู่ใน Zone ก้อนเมฆอยู่ ยังไม่ดีดหรือพุ่งไปไหน แสดงว่าราคายังอยู่ในรูปแบบ(แพทเทิร์น)ไซต์เวย์

 

    4.เป็นแนวรับ-แนวต้าน Candlesticks vs Kumo

          เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้านโดยดูจาก

  • เป็นแนวรับเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยู่เหนือกลุ่มก้อนเมฆ

  • เป็นแนวต้านเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยุ่ใต้กลุ่มก้อนเมฆ

          ถ้าหากราคาสามารถทะลุแนวรับ หรือ แนวต้านได้เมื่อไหร่ นั่นหมายถึง ราคาอาจเกิดการ

เปลี่ยนเทรนด์ได้

    5.บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวที่แรงๆ ตามทฤษฎี break out, Candlesticks vs Kumo

          เมื่อไหร่ที่ราคา(แท่งเทียน) หลุดตัวทะลุออกจากกลุ่มก้อนเมฆมามาแล้ว ราคาจะมีการสวิงตัวที่รุนแรง ตามทฤษฎี break out

  • Facebook Social Icon
  • LINEa
bottom of page