

Forex NEWS

ข่าว เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาด Forex ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการรายงานข่าวที่สำคัญ ๆ จากหลาย ๆ สำนักข่าวในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเทรดเดอร์จึงจำเป็นต้องติดตามข่าวสารจากเว็บข่าวสำคัญๆอย่างสม่ำเสมอ
หากเทรดเดอร์ท่านใดได้ติดตามอ่านข่าว หรืออัพเดทข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดฟอร์เร็กซ์ โอกาสของการเทรดที่ถูกต้องแม่นยำ ย่อมมีความเป็นไปได้สูง เพราะถ้าเราไม่ตกข่าว ได้อัพเดทข้อมูลที่มันใหม่ๆ อยู่เสมอๆ ความผิดพลาดย่อมลดน้อยลง ทำให้เกิดความมั่นใจเข้ามาแทน สามารถเทรดตรงตามทิศทางของตลาด สร้างผลกำไรได้อย่างราบรื่น
ระดับความสำคัญของข่าว

ข่าวที่ประกาศออกมาในแต่ล่ะช่วงเวลา จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินที่แตกต่างกัน บางข่าวก็ส่งผลรุนแรง บางข่าวปานกลาง หรือบางข่าวก็ไม่ค่อยส่งผลกระทบอะไรเลย ค่าเงินของแต่ล่ะสกุล จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ล้วนเกี่ยวเชื่อมโยงโดยตรงกับข่าวในประเทศที่เป็นของเจ้าสกุลเงินนั้น ทุกๆข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือความมั่นคงของประเทศ ล้วนมีผลกระทบกับค่าเงินทั้งนั้น แต่ต่างกันเพียง กระทบน้อยหรือมาก สำหรับแหล่งข้อมูลที่ให้ข่าวสาร สามารถติดตามหาอ่านเอาตามเว็บไซต์ในอินเตอเน็ต ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับบทความนี้ ได้จัดทำตารางปฏิทินข่าวของอเมริกา ที่ส่งผลกระทบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐโดยตรง (USD ) โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ www.forexfactory.com ซึ่งเป็นเว็บที่มีข่าวสารหลากหลาย ครอบคลุมในทุกๆด้าน ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์หลักที่ให้ข้อมูล
ข่าวสารสำคัญๆ ในตลาด forex เทรดเดอร์มักเข้ามาอ่านเพื่อเก็บข้อมูล ก่อนที่จะต้ดสินใจ ซื้อ- ขาย
ในแต่ล่ะคู่สกุลเงิน ตามช่วงของเวลาที่มีข่าวประกาศ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm Payroll Employment) ข่าวนี้โดยทั่วไปจะเรียกสั้นๆว่า ข่าวนอน-ฟาร์ม จะมีออกประกาศเดือนล่ะครั้ง ในวันศุกร์สัปดาห์เเรกของเดือน ซึ่งข่าวนี้ส่งผลกระทบกับค่าสกุลเงิน USD มาก หากคู่เงินไหนที่จับคู่กับสกุล USD คู่เงินนั้นจะมีความผันผวนมาก กราฟจะวิ่งแบบ กระซาก ฉุดดึงไม่อยู่,
ข่าวผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) , ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ,
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) , ดัชนีความมั่นใจผู้บริโภค (CCI) , ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ,
อัตราการว่างงาน
จากตารางข่าวได้แสดงถึงความสำคัญของแต่ล่ะข่าวที่มีผลกระทบต่อค่าเงิน USD โดยลำดับความรุนแรงไว้ 3 ระดับ จากมากไปหาน้อยดังนี้
-
สีแดงหมายถึง มีกระทบที่รุนแรง (High Impact Expected)
-
สีส้มหมายถึง มีผลกระทบปลานกลาง (Med Impact Expected)
-
สีเหลืองหมายถึง มีผลกระทบน้อย (Low Impact Expected)
-
ในส่วนที่แสดงเป็นสีขาวจะไม่นับ เพราะเป็นเพียงการบอกวันหยุดของตลาด แบงค์หรือธนาคารไม่เปิดทำการ

ความหมายของข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีผลกับตลาด Forex
Non-farm Payrolls หรือ NFP
ข่าวประกาศตัวเลข Non-Farm Employment Change โดยจะประกาศในวันศุกร์สัปดาห์แรกของทุกเดือน เป็นตัวเลขการจ้างงานใหม่ของสหรัฐอเมริกา ยกเว้นแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตร ตัวเลขประกาศนี้ถือเป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุดของการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา หากว่าตัวเลขที่ประกาศออกมามากกว่าที่คาดการณ์และมากกว่าตัวเลขครั้งที่แล้ว จะส่งผลให้เงิน USD แข็งค่าขึ้น สกุลเงินที่จับคู่กับ USD จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นทันที คู่เงินไหน USD อยู่ด้านหน้า (Base Currency) กราฟจะวิ่งขึ้น แต่ถ้า USD อยู่ด้านหลัง (Quote Currency) กราฟจะวิ่งลง ในทางกลับกันเมื่อประกาศข่าวแล้วตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์และตัวเลขครั้งที่ แล้วจะส่งผลให้ค่าเงิน USD อ่อนค่า กราฟก็จะวิ่งกลับกัน
Unemployment Rate
ข่าวตัวเลขอัตราการว่างงาน ของสหรัฐอเมริกา จะประกาศในช่วงศุกร์ต้นเดือน ในวันเดียวกันกับ Non-Farm Employment Change หรือถ้ากระชั้นชิดมากอาจจะเลื่อนมาศุกร์ที่สองของเดือน เป็นการประกาศตัวเลขอัตราว่างงานของเดือนที่แล้ว ตัวเลขนี้จะสะท้อนภาพเศรษฐกิจโดยตรงกล่าวคือถ้ามีการว่างงานในอัตราสูง แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ แต่ถ้าตัวเลขออกมาน้อย แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว และมีผลดีต่อค่าเงินด้วย ถ้าตัวเลขนี้ออกมาน้อยกว่าเดิม พร้อมกับตัวเลข Non-Farm Employment Change ออกมาดีค่าเงิน USD จะยิ่งมีความแข็งแกร่ง
Trade Balance
เป็นตัวเลขดุลการค้า หมายถึงความแตกต่างระหว่างการนำเข้าและส่งออกของสินค้าและบริการ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็นบวก จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี ในการดูข่าว Forex Factory ให้ดูตัวเลขที่ประกาศออกมา ถ้าตัวเลขเป็นบวกแสดงให้เห็นว่ามีการส่งออกมากกว่านำเข้า(เกินดุล) ถ้าตัวเลขเป็นลบก็แสดงว่ามีการนำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก(ขาดดุล) มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่าตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
GDP คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สิ่งนี้จะบอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะมีความหมายว่าประเทศโดยรวมมีการเจริญเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และยังมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย กลับกันถ้า GDP ลดลงเกิดจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมไม่ดี ก็จะส่งผลต่อค่าเงินในทางตรงกันข้าม
Consumer Price Index หรือ CPI
CPI หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
FOMC Meeting Minutes , FOMC Statement , Federal Funds Rate
คือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ประชุมถ้าเทียบเวลาในบ้านเราจะอยู่ในช่วงตี 1 – ตี 2 คืนวันพุธไปหาเช้าวันพฤหัสบดี การประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุม ส่วนที่สนใจกันมากที่สุดคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ย ถ้ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น และถ้าปรับลดลงค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงด้วย
Retail Sales
คือ ดัชนีค้าปลีก ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว จะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีกโดยไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales การเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมของการค้าส่ง ส่วนดัชนี PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย
Unemployment Claims
คือ จำนวนผู้ที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่ง จะบอกได้ถึงอัตราการว่างงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการประกาศทุกวันพฤหัสบดี ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
ECB President Draghi Speaks , BOJ Gov Kuroda Speaks
ข่าวพูดสรุปนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางรวมถึงมาตรการทางการเงินต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเงินในสกุลที่มีประกาศนโยบายออกมาทันที
ISM Non-Manufacturing PMI
คือ ดัชนีวัดสภาวะโดยรวมในภาคการบริการที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการซัพพลาย จะประกาศช่วงต้นเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นรายงานจากการสำรวจกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
CB Consumer Confidence
คือ ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในภาคครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
German Ifo Business Climate
คือ ดัชนีวัดสภาวะในภาคธุรกิจของเยอรมนี จะประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
ข่าวที่มีผลกระทบปานกลาง (Medium Impact Expected) ข่าวกล่องสีส้ม
Personal Spending
คือ ดัชนีรายจ่ายส่วนบุคคล จะประกาศช่วงปลายเดือน Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะแสดงถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Durable Goods Orders
คือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน จะประกาศประมาณวันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
คือ มูลค่ารวมของการสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม จะประกาศช่วงต้นเดือนเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Prelim Nonfarm Productivity
คือ ดัชนีวัดผลผลิตนอกภาคเกษตร จะประกาศช่วงต้นเดือนที่ 2 ของไตรมาส เป็นข้อมูลของไตรมาสที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสภาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญต่อตลาด ตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้โดยสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยน ไป เช่น ถ้าตัวเลข GDP ออกมาดี แต่ตัวเลขนี้กลับลดลงขัดกันกับ GDP ก็สามารถทำให้มีผลกระทบต่อตลาดได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

อธิบายเนื้อหาในเว็บ ที่แสดงความรุนแรงของข่าวที่ประกาศ
ในเว็บโซต์ forexfactory

การตั้งค่าต่างๆ

